โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ ( Allergen ) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่น ๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ “สิ่งกระตุ้น” มานานเพียงพอ อย่างไรก็บางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัวสามารถกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น
-ทางลมหายใจ
ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่น ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะเสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด
-ทางผิวหนัง ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
-ทางอาหาร ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่น ๆ ได้
-ทางตา ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล
สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่ว ๆ ไป
สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น “ตัวการ” ของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อย ๆ ได้แก่
-ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้านมักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
-เชื้อรามักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
-อาหารบางประเภทอาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล อาหารประเภทหมักดอง เด็กบางคนอาจแพ้เห็ดซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด
-ยาแก้อักเสบยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย ๆ นั้นได้แก่ ยาปฏิชีวะนะ พวกเพนนิซิลลิน เตตราไซคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันของผิวหน้า
-แมลงต่าง ๆ เช่น แมงมุม มด ยุง ปลวก ผึ้ง แตน มดนานาชนิด เป็นต้น
-เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ดอกข้าว วัชพืชสิ่งเหล่านี้มักปลิวอยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกล ๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุย ๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง เกสรดอกหญ้า ที่ปลิวมาตามสายลม
-ขนสัตว์เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้ยัดที่นอนและหมอน
การสอบประวัติและวิเคราะห์โรค
แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน งานอดิเรก เพื่อเป็นแนวทางที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีอาการ ณ สถานที่ใดได้บ้าง
ทดสอบทางผิวหนัง
แพทย์จึงใช้วิธีทดสอบทางผิวหนัง ( Skin Tests ) ซึ่งวิธีนี้จะนำเอาน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้ทางอ้อม โดยนำน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขน ซึ่งทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดนั้นมาจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ๆ เมื่อหยอดน้ำสกัดบนท้องแขนแล้ว ใช้ปลายเข็มที่สะอาดกดลงบนผิวหนังเพื่อให้น้ำยาซึมซับลงไป แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตุ่มใดที่ผู้ป่วยแพ้ ก็จะเป็นรอยนูนคล้ายรอยยุงกัด แพทย์จะทำการวัดรอยนูนและรอยแดงของแต่ละตุ่มที่ปรากฏ ซึ่งทำให้ทราบได้ทันทีว่าเจ้าตัวเล็กแพ้สารใดบ้าง ตุ่มใดที่ไม่แพ้ก็จะไม่มีรอยนูนแดง สำหรับวิธีทดสอบทางผิวหนังทำได้ตั้งแต่เจ้าตัวเล็กอายุได้ไม่กี่เดือนจนถึงเป็นผู้ใหญ่ซึ่ง ก่อนที่ผู้ป่วยจะทำการทดสอบ ต้องหยุดรับประทานยาแก้แพ้จำพวกยาด้านฮิสตามีนก่อนการทดสอบอย่างน้อย 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นฤทธิ์ยาแก้แพ้จะไปบดบัง ทำให้หาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่พบ
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบ โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุของโรค และสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยบางคนเริ่มจากอาการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้ใส่ใจรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นโรคหอบหืด โรคผื่นคันผิวหนัง เช่น เป็นลมพิษ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคอ่อนเพลียต่าง ๆ เป็นต้นบางคนเชื่อว่า ถ้าเด็กเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เล็ก พอโตขึ้นอาจหายไปเองได ้และไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนักเพราะโรคนี้อาจทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า การปรับตัวเข้ากับสังคมเพื่อน ๆ และสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี เกิดปมด้อย อาจขาดความมั่นใจส่วนเด็กที่แพ้อากาศ ถ้าไม่รักษาต่อมาก็อาจกลายเป็นโรคหอบหืดที่มีอาการของโรคแรงขึ้นเรื่อย ๆ
หาต้นเหตุและหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทีดีที่สุด คือการค้นหาสาเหตุของการแพ้นั้นให้พบ เช่น การสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก ตรวจร่างกายและทดสอบทางผิวหนัง เมื่อทราบว่าแพ้สารใดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารที่ให้เกิดภูมิแพ้ที่ถูกต้องและอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะทุเลาในทางปฏิบัตินั้นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบ ๆ ตัว เช่นฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นและได้มักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแพ้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น
ฉีดวัคซีนให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน
มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาได้ผลดีพอสมควร ได้แก่การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบแล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้นำมาผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้ ( อิมมูโนบำบัด ) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อ ลดภูมิไว คือให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ข้อมูลและรักษา
โรคภูมิแพ้
คลินิกศัลยกรรมหมอสุรเชษฐ
“ใส่ใจในสุขภาพคุณ”
130/1-4 ถ.พระราม 6 ต.ทับเที่ยง
อ.เมือง จ.ตรัง 92000
โทร. 075-219805 , 086-4715607
www.surachetclinic.com