ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สาระสุขภาพ
dot
bulletคำถามที่พบบ่อย
bulletโรคริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
bulletการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
bulletก้อนที่เต้านม
bulletโรคกระเพาะ
bulletโรคลำไส้แปรปรวน ( IBS )
bulletโรคกรดไหลย้อน
bulletโรคอ้วน
bulletสมรรถภาพเพศชาย ( ED )
bulletทำหมันชาย
bulletโรคไส้เลื่อน
bulletโรคไส้ติ่ง
bulletเลิกบุหรี่
bulletเส้นเลือดขอด
bulletโรคฝีคันฑสูตร
bulletโรคไซนัส
bulletวัคซีน..เรื่องน่ารู้
bulletวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
bulletซีสต์
bulletมะเร็งปากมดลูก
bulletโรคภูมิแพ้
dot
สุขภาพและความปลอดภัย
dot
bulletชิคุนกุนยา "ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย"
bulletการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
bulletเตือนวัยรุ่นจัดฟันแฟชั่น-ลูกปัดเคลือบปรอท
bulletอาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง !
dot
Good food.....Good health
dot
bulletอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
bullet9 วิธีกินดี เพื่อสุขภาพ
dot
รวมลิงค์
dot
bulletwww.blackle.com/
bulletwww.google.co.th
bulletwww.hotmail.com
bulletwww.yahoo.com
bulletwww.ruamphat-ts.com




โรคไซนัส

 

ลักษณะทั่วไป 

  ไซนัส (sinus)  หมายถึง โพรงอากาศเล็ก ๆ ในกะโหลกซึ่งอยู่รอบ ๆ จมูกและมีทางเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ดังนั้น จึงอาจมีเชื้อโรคลุกลามจากโพรงจมูกเข้าไปในโพรงไซนัสได้ ตามปกติทางเชื่อมดังกล่าวจะเปิดโล่งให้มีการระบายของน้ำเมือกที่สร้างขึ้นในโพรงไซนัสได้สะดวกจึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าหากทางเชื่อมดังกล่าวเกิดการอุดตันขึ้นมา (เช่น เป็นหวัด ผนังกั้นจมูกคด มีเนื้องอกในรูจมูก ได้รับบาดเจ็บ นั่งเครื่องบิน หรือดำน้ำ) น้ำเมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายได้ ก็จะทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในโพรงไซนัส สามารถเจริญงอกงามทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นหนองขังภายในโพรงไซนัส

สาเหตุ
   เชื้อที่เป็นสาเหตุ ที่พบบ่อย ได้แก่ บีตาสเตรปโตค็อกคัส, สแตฟฟีโลค็อกคัส, นิวโมค็อกคัส, ฮีโมฟิลุส,อินฟลูเอนซา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการลุกลามของเชื้อโรค จากบริเวณรากฟันที่เป็นหนองเข้าไปในโพรงไซนัสโดยตรงก็ได้ ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย มักพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด, หวัดจากการแพ้, เยื่อจมูกอักเสบ,  เนื้องอกในรูจมูก , ผนังกั้นจมูกคด, รากฟันเป็นหนอง                         .                                                                                                            

อาการ
   ปวดมึน ๆ หนัก ๆ ตรง บริเวณหัวตา หน้าผากโหนกแก้มหรือรอบ ๆ กระบอกตา บางคนอาจรู้สึกคล้ายปวดฟัน บริเวณขากรรไกรบน อาการปวดอาจเป็นมากในเวลาเช้าหรือบ่าย เวลาก้มศีรษะหรือเปลี่ยนท่า ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก พูดเสียงขึ้นจมูก มีน้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว เจ็บคอ มีเสลดเหลืองหรือเขียวในลำคอ และอาจหายใจมีกลิ่นเหม็น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลัน มักมีไข้ร่วมด้วย                               

สิ่งที่ตรวจพบ
    เยื่อจมูกบวมแดง คอแดงเล็กน้อย ที่สำคัญจะพบว่าถ้าเคาะหรือกดแรงๆ ตรงบริเวณหัวตา หน้าผากหรือใต้ตาจะรู้สึกเจ็บ อาจมีไข้ ( ในรายที่เป็นฉียบพลัน )

 

 

อาการแทรกซ้อน
    อาจทำให้เป็นหูชั้นกลางอักเสบ , หลอดลมอักเสบ , ปอดอักเสบ , ฝีรอบกระบอกตา (Periorbital abscess), เยื่อกระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)ภ าวะแทรกซ้อน ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ฝีในสมอง      

                                             

การรักษา

1. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ , ยาแก้คัดจมูก อาจช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อที่อักเสบ ซึ่งจะช่วยถ่ายเทหนอง ส่วนยาแก้แพ้  ไม่ควรให้ อาจทำให้น้ำเมือกในโพรงไซนัสเหนียว ถ่ายเทออกได้ไม่ดี ยกเว้นในรายที่มีอาการของภูมิแพ้มาก เช่น จาม มีน้ำมูกมาก อาจให้เพียง 2-3 วัน เพื่อบรรเทาอาการ
 2.
ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน , อีริโทรไมซิน   หรือ โคไตรม็อกซาโซล   ปกติอาการจะทุเลาหลังกินยา 2-3 วัน ควรให้กินติดต่อกันนาน 10-14 วันในรายที่เป็นเรื้อรัง ขณะที่มีอาการกำเริบ ควรให้ยาปฏิชีวนะนาน 3-4 สัปดาห์ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือกำเริบบ่อย ควรพบแพทย์

 

ข้อแนะนำ
1. ขณะที่มีอาการกำเริบ ควรงดว่ายน้ำ ดำน้ำ ขึ้นเครื่องบิน ประมาณ 2 สัปดาห์
2. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง แต่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือแก้ไขสาเหตุ เช่น ผนังกั้นจมูกคด
3. ไม่ควรรักษากันเองตามแบบพื้นบ้าน เช่น ใช้สารกรดบางอย่าง หยอดเข้าจมูก(ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมามาก เพราะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อจมูก) อาจทำให้เกิดการอักเสบ และจมูกพิการได้
4. ระวังอย่าให้เป็นหวัดบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คัดจมูกหรือจาม (เช่น ฝุ่น อากาศเย็น ขนสัตว์)และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.