ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สาระสุขภาพ
dot
bulletคำถามที่พบบ่อย
bulletโรคริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
bulletการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
bulletก้อนที่เต้านม
bulletโรคกระเพาะ
bulletโรคลำไส้แปรปรวน ( IBS )
bulletโรคกรดไหลย้อน
bulletโรคอ้วน
bulletสมรรถภาพเพศชาย ( ED )
bulletทำหมันชาย
bulletโรคไส้เลื่อน
bulletโรคไส้ติ่ง
bulletเลิกบุหรี่
bulletเส้นเลือดขอด
bulletโรคฝีคันฑสูตร
bulletโรคไซนัส
bulletวัคซีน..เรื่องน่ารู้
bulletวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
bulletซีสต์
bulletมะเร็งปากมดลูก
bulletโรคภูมิแพ้
dot
สุขภาพและความปลอดภัย
dot
bulletชิคุนกุนยา "ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย"
bulletการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
bulletเตือนวัยรุ่นจัดฟันแฟชั่น-ลูกปัดเคลือบปรอท
bulletอาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง !
dot
Good food.....Good health
dot
bulletอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
bullet9 วิธีกินดี เพื่อสุขภาพ
dot
รวมลิงค์
dot
bulletwww.blackle.com/
bulletwww.google.co.th
bulletwww.hotmail.com
bulletwww.yahoo.com
bulletwww.ruamphat-ts.com




วัคซีน..เรื่องน่ารู้

                แพทย์ควรให้เวลากับพ่อแม่อย่างเพียงพอ เพื่อพูดคุยถึงเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีน ทั้งเรื่องประเภทของวัคซีน ตารางวัคซีน วิธีให้วัคซีน ความสามารถในการป้องกันโรค อาการข้างเคียง ข้อห้าม

และข้อควรระวังและการปฏิบัติเมื่อไม่สามารถมารับวัคซีนได้ตามนัดของแพทย์

                ก่อนฉีดวัคซีนให้กับเด็กแพทย์ควรใช้เวลาพูดคุยกับพ่อแม่ในเรื่องต่างๆ เพื่อประเมินความพร้อมของเด็กในการรับวัคซีน อย่างเช่น เด็กกลัวการฉีดวัคซีนมากน้อยเพียงใด เกิดอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อนหรือไม่สุขภาพของเด็กและของสมาชิกในครอบครัวในวันที่มารับวัคซีนว่าแข็งแรงหรือไม่ หรือความเจ็บป่วยร้ายแรงของเด็กในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา

ประเภทต่างๆ ของวัคซีน…เรื่องแรกที่ควรรู้

                วัคซีนสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

                1.วัคซีนพื้นฐานเช่น วัคซีนบีซีจี วัคซีนตับอักเสบบี-คอตีบ-บาดทะยัก ไอกรน วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนเจอี

                2.วัคซีนเผื่อเลือก เช่น วัคซีนฮิบ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนโรต้า วัคซีนเอชพีวี

                3.วัคซีนพิเศษ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนไทฟอยด์ วัคซีนกาฬหลังแอ่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนิวคอคคัส(ผู้สูงอายุ)

                4.วัคซีนระหว่างการพัฒนา เช่น วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนเอดส์ วัคซีนมาลาเรีย

                ความรู้เรื่องแรกที่เกี่ยวกับวัคซีนที่แพทย์ควรแจ้งให้พ่อแม่ของเด็กทราบ คือ ประเภทต่างๆของวัคซีน เริ่มจากวัคซีนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากจนได้รับบรรจุไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของประเทศ เรียกว่า วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนบังคับ วัคซีนประเภทนี้หากพาเด็กไปรับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ วัคซีนในกลุ่มนี้ได้แก่ วัคซีนบีซีจี 1 ครั้ง วัคซีนตับอักเสบบี 3 ครั้ง วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน 5 ครั้ง วัคซีนโปลิโอ 5 ครั้ง วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม 2 ครั้ง และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 3 ครั้ง

                แพทย์ส่วนใหญ่อาจไม่ได้พูดคุยกับพ่อแม่เกี่ยวกับวัคซีนขั้นพื้นฐานโดยเข้าใจว่าเป็นกลุ่มวัคซีนซึ่งรู้จักกันดีแล้ว แต่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อมีการนำเด็กมาพบแพทย์เป็นครั้งแรกเพื่อรับวัคซีน แพทย์ควรใช้เวลาในการแนะนำวัคซีนกลุ่มนี้โดยสังเขป พร้อมๆกับแนะนำสมุดฉีดวัคซีนซึ่งจะมีรายชื่อของวัคซีนต่างๆ หลายชนิด ให้พ่อแม่ได้รู้จัก

                และเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรพูดคุยกับพ่อแม่เกี่ยวกับวัคซีนพื้นฐาน ได้แก่ อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีนบางตัว หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนเผื่อเลือกบางชนิดที่สามารถนำมาใช้แทนวัคซีนพื้นฐานได้

                ลำดับถัดไป ควรแนะนำวัคซีนที่สามารถเลือกให้เพิ่มเติมได้ที่เรียกว่า วัคซีนเผื่อเลือก วัคซีนเผื่อเลือกที่ใช้กันในประเทศไทย คือ วัคซีนฮิบ วัคซีนนิวโมคอคคัส วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรต้า วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนตับอักเสบเอ และวัคซีนเอชพีวี นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนเผื่อเลือกที่มีคุณลักษณะแตกต่างไปจากวัคซีนพื้นฐานในบางประเด็นและสามารถเลือกใช้ทดแทนวัคซีนพื้นฐานบางชนิดได้ เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด และวัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์

                ในขณะที่เงื่อนไขการจัดสรรงบประมาณของประเทศที่จัดทำโดยมุ่งเน้นความชาญฉลาดในการนำไปใช้ แม้ภาครัฐจะมองเห็นประโยชน์ของวัคซีนเผื่อเลือก แต่ยังไม่มีความพร้อมที่จะให้บริการวัคซีนกลุ่มนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในอนาคตหากมีการจัดการงบประมาณเพิ่มมากขึ้น วัคซีนเหล่านี้อาจได้รับการจัดกลุ่มให้เข้าไปเป็นวัคซีนพื้นฐานได้

                ดังนั้น หากพ่อแม่ต้องการให้ลูกได้รับวัคซีนในกลุ่มนี้ สามารถทำได้โดยเสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนบางแห่งอนุญาตให้เบิกค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนทุกชนิดได้ โดยถือเป็นสวัสดิการของครอบครัว

                การพูดคุยกับพ่อแม่เกี่ยวกับวัคซีนเผื่อเลือก ยังเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยและเป็นที่น่าสังเกตว่า ในบางครั้งการสื่อสารของแพทย์ก็จะเปลี่ยนไปตามลักษณะของสถานพยาบาลในขณะปฏิบัติหน้าที่ แพทย์คนเดียวกันอาจให้ข้อมูลหรือใช้วิธีการพูดคุยที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าเขากำลังทำงานอยู่ในสถานพยาบาลของภาครัฐหรือภาคเอกชน

                แพทย์ไม่ควรลืมที่จะพูดคุยถึงเรื่องระบาดวิทยาของโรค ซึ่งจะครอบคลุมว่าพบโรคได้บ่อยเพียงใด และพบได้มากน้อยในพื้นที่หรือประเทศที่เราอาศัยอยู่ พบบ่อยในช่วงอายุใด และโรคมีความรุนแรงแค่ไหน รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคนั้นๆ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพหรือความสามารถในการป้องกันโรค ความปลอดภัย ตลอดจนราคาของวัคซีน

                แพทย์ควรให้ข้อมูลที่เป็นกลาง ไม่ใช้การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวให้พ่อแม่เห็นด้วยและตัดสินใจตามที่แพทย์ต้องการ และมีไม่น้อยที่แพทย์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานพยาบาลเอกชนจะนัดให้เด็กมารับวัคซีนเผื่อเลือก (โดยการตัดสินใจของแพทย์ซึ่งไม่มีการปรึกษาหารือกับพ่อแม่) และไม่ให้คำอธิบายว่าเป็นวัคซีนที่สามารถให้เพิ่มเติมได้ไม่ใช่วัคซีนพื้นฐาน

            พ่อแม่…กับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

                วัคซีนบางชนิดมีหลายรูปแบบให้เลือก และบางอย่างก็อยู่ในรูปวัคซีนรวม แพทย์ควรให้คำอธิบายอย่างชัดเจน และควรเปิดโอกาสให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกรูปแบบของวัคซีนด้วย แพทย์ไม่ควรเป็นผู้ตัดสินใจ (เชื่อว่าปัจจุบันแพทย์ส่วนใหญ่อาจตัดสินใจเลือกรูปแบบของวัคซีนให้กับเด็กโดยใช้เหตุผลหรือความรู้สึกของตนเอง)

                นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนที่มีประโยชน์เฉพาะบุคคลบางกลุ่มหรือมีประโยชน์ในบางโอกาสเรียกว่า วัคซีนพิเศษ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้าเมื่อถูกสัตว์กัด วัคซีนทัยฟอยด์และวัคซีนไข้กาฬหลังแอ่นสำหรับนักท่องเที่ยว วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนนิวโมคอคคัสสำหรับผู้สูงอายุ

 

                และวัคซีนประเภทสุดท้าย  วัคซีนที่อยู่ระหว่างขั้นตอนของการพัฒนา และเป็นความหวังของคนทั่วโลก เช่น วัคซีนไข้เลือดออก วัคซีนเอดส์ และวัคซีนมาลาเรีย

               

ตารางวัคซีน…..เรื่องสำคัญที่ต้องติดตาม

                                ตารางวัคซีนจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการฉีดวัคซีนในแต่ละวัย เป็นการสรุปชื่อของวัคซีน จำนวนครั้งที่ฉีด และอายุที่แนะนำให้ฉีด

 

ชื่อวัคซีน

จำนวนครั้ง

อายุที่แนะนำ

ประเภทของวัคซีน

บีซีจี

1

แรกเกิด

พื้นฐาน

ตับอักเสบบี

คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน *

3

5

แรกเกิด,1-2,6 เดือน

2,4,6,18 เดือน,4-6 ปี

พื้นฐาน

 

โปลิโอ **

5

2,4,6,18 เดือน,4-6 ปี

พื้นฐาน

ฮิบ

3

2,4,6 เดือน

เผื่อเลือก

นิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต

4

2,4,6,12-15 เดือน

เผื่อเลือก

หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม

2

9-12 เดือน,4-6 ปี

พื้นฐาน

ชื่อวัคซีน

จำนวนครั้ง

อายุที่แนะนำ

ประเภทของวัคซีน

โรต้า

2-3

2,4,(6) เดือน

เผื่อเลือก

ไข้หวัดใหญ่

ทุกปี

6 เดือน – 2 ปี ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว

เผื่อเลือก พิเศษ

ไข้สมองอักเสบเจอี

3

1-2 ปี,1-4 สัปดาห์และ 1 ปี หลังเข็มแรก

พื้นฐาน

อีสุกอีใส ***

1

1 ปีขึ้นไป

เผื่อเลือก

ตับอักเสบบี

2

1-2 ปีขึ้นไป

เผื่อเลือก

เอชพีวี

3

เด็กโต วัยรุ่น (10-12 ปีขึ้นไป)

เผื่อเลือก

นิวโมคอคคัสชนิดโพลีแช็คคาไรด์

1

ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวไม่มีม้าม

พิเศษ

ไข้กาฬหลังแอ่น

1

สำหรับผู้เดินทางไปยังถิ่นระบาดของโรค

พิเศษ

ทัยฟอยด์

1

สำหรับผู้เดินทางไปยังถิ่นระบาดของโรค

พิเศษ

 

หมายเหตุ : * อาจเลือกใช้วัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์เป็นวัคซีนเผื่อเลือกแทนวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ และควรกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 10-12 ปี

                     ** อาจเลือกให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีดเป็นวัคซีนเผื่อเลือกแทนวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด

                     *** กรณีเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ ให้ 2 ครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์

วัคซีน…ให้อย่างไร

                วิธีการให้วัคซีนหรือการบริหารวัคซีนคือการนำวัคซีนนั้นๆ เข้าสู่ร่างกายซึ่งได้แก่ การฉีด การรับประทานและการพ่นจมูก สำหรับการฉีดวัคซีนยังสามารถแบ่งได้อีก 3 วีธี คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้

ผิวหนัง และฉีดในผิวหนัง

                วัคซีนชนิดฉีดส่วนใหญ่ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนที่เหลือจะเป็นการฉีดเข้าในผิวหนัง

และใต้ผิวหนัง ทั้งสามวิธีมีเทคนิคการฉีดที่แตกต่างกัน

ทำไมไม่ควรฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อบริเวณก้น

            ตำแหน่งที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนหรือฉีดยาอื่นๆ เข้ากล้ามเนื้อ คือ บริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกถ้าเป็นเด็กเล็ก และกล้ามเนื้อหัวไหล่สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนหรือยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณก้น เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายกับเส้นประสาทหรือข้อสะโพก

                นอกจากนั้นการฉีดเข้าบริเวณก้นซึ่งมีไขมันมาก มักทำให้วัคซีนเข้าไปสู่ชั้นไขมันมากกว่าเข้าสู่กล้ามเนื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนด้อยลง และเรื่องนี้มีข้อพิสูจน์ที่สามารถยืนยันได้สำหรับวัคซีนตับอักเสบบีและวัคซีนพิษสุนัขบ้า

                ส่วนการฉีดในผิวหนังและใต้ผิวหนัง อนุโลมให้ฉีดบริเวณก้นได้ เนื่องจากการแทงเข็มจะเข้าไปไม่ลึก และมักไม่เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทและข้อสะโพก

วัคซีนชนิดหยอดทางปากมีอะไรบ้าง

            วัคซีนชนิดรับประทานซึ่งมีทั้งวัคซีนน้ำที่ใช้หยอดทางปาก ได้แก่ วัคซีนโปลิโอ และวัคซีนโรต้า และวัคซีนชนิดแค็ปซูล ได้แก่ วัคซีนทัยฟอยด์ วัคซีนประเภทนี้มีข้อดีคือ นอกจากภูมิคุ้มกันที่จะเกิดขึ้นในกระแสเลือดแล้ว วัคซีนยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในลำไส้ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อโรคตั้งแต่ขั้นต้นของการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้

นอกจากวัคซีนชนิดฉีดและชนิดหยอด มีการให้วัคซีนวิธีอื่นๆ อีกหรือไม่

            นอกจากวัคซีนชนิดฉีดและชนิดหยอดแล้ว ยังมีวัคซีนชนิดพ่นจมูกซึ่งได้แก่ วัคซีนหัด (ปัจจุบันไม่มีใช้แล้ว) และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจได้รับความนิยมในอนาคต วัคซีนชนิดนี้มีข้อดี คือ นอกจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในเลือดแล้ว วัคซีนยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในทางเดินหายใจได้ด้วย

วัคซีน…กับความสามรถในการป้องกันโรค

            แม้จะยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าวัคซีนช่วยในการป้องกันโรคได้ร้อยเปอร์เซนต์แต่โดยทั่วไปหากประสิทธิภาพหรือความสามารถในการป้องกันโรคของวัคซีน ทำได้ในระดับมากกว่า 85% จะถือว่าวัคซีนนั้นเป็นวัคซีนที่ดีใช้ได้ และหากทำได้ถึง 90-95% ก็จะจัดเป็นวัคซีนที่ดีมาก วัคซีนบางชนิดอาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ แต่จะช่วยเพียงทำให้อาการของโรคลดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น

อาการข้างเคียง…เรื่องที่ควรใส่ใจติดตาม

            วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยทั่วไปก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ไม่บ่อยนักและมักเป็นไม่รุนแรง มีรายงานมากมายเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด  ทั้งอาการข้างเคียงทั่วไป เช่น ไข้ หงุดหงิด ร้องกวน ซึม ผื่น และอาการข้างเคียงเฉพาะที่ เช่น บวม แดง ร้อน เจ็บ แพทย์บางคนอาจใช้แผ่นแบบซึ่งบรรจุในกล่องที่ระบุข้อความรายละเอียดของวัคซีน มาเป็นตัวอย่างให้พ่อแม่ทราบถึงอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจไม่เป็นประโยชน์มากนัก เพราะมีรายละเอียดมากเกินไป และจะเป็นการสร้างความกังวลใจ ทางที่ดีแพทย์ควรเป็นผู้สรุปอาการข้างเคียงที่สำคัญและพบบ่อยของวัคซีนแต่ละชนิดให้พ่อแม่ทราบ

ไข้ หงุดหงิด ร้องกวน ซึม…เรื่องที่ควรใส่ใจติดตาม

                หลังการฉีดวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ อาการข้างเคียงดังกล่างข้างต้นอาจเกิดขึ้น ซึ่งมักสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ การใช้วัคซีนไอกรนแบบไม่มีเซลล์อาจช่วยลดอาการข้างเคียงที่น่ากังวลนี้ได้

            “ หลังฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เด็กอาจเป็นไข้ได้ ส่วนใหญ่จะมีไข้หลังได้รับวัคซีนประมาณ 2 ชั่วโมงและเป็นอยู่ไม่เกิน 2 วัน ถ้าเด็กมีไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรวัดไข้เป็นระยะๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้หรือให้กินยาลดไข้ด้วย หากเป็นไข้นานเกิน 2 วันต้องพบแพทย์ ”

ทำอย่างไรเมื่อมีผื่นหลังฉีดวัคซีน

            เด็กบางคนอาจมีผื่นขึ้นหลังได้รับวัคซีนหัดและวัคซีนอีสุกอีใสแม้จะพบไม่บ่อย แต่มักทำให้พ่อแม่กลุ้มใจและมักนำเด็กกลับมาพบแพทย์อีก ทั้งๆที่ผื่นเหล่านี้อันตรายและหายได้เอง

                “ หลังฉีดวัคซีนหัด เด็กบางคนอาจมีผื่นขึ้น แต่จะไม่ขึ้นทันทีทันใด อาจจะเป็นผื่นหลังได้รับวัคซีนประมาณ 5-7 วัน บางคนมีอาการไข้ต่ำๆหรือมีอาการไอร่วมด้วย โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงและหายเอง ”

                “ หลังฉีดวัคซีนอีสุกอีใส เด็กบางคนอาจมีตุ่มใสๆ คล้ายๆ กับตุ่มของโรคอีสุกอีใส แต่จะมีตุ่มจำนวนไม่มาก ตุ่มหรือผื่นแบบนี้ไม่มีอะไรรุนแรงและไม่เกินอาทิตย์หนึ่งก็จะหายไปได้เอง ”

อาการบวมแดงหลังฉีดวัคซีน…เรื่องธรรมดาหรือเรื่องอันตราย

                วัคซีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออาจทำให้เกิดอาการเฉพาะที่ได้บ่อย เช่น ทำให้เกิดอาการบวม แดง ร้อน และเจ็บ โดยเฉพาะหลังการฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน

                “ หลังฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ เด็กบางคนอาจมีอาการบวมเป็นไตแข็ง บริเวณที่ฉีด และอาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ การช่วยประคบบริเวณที่มีอาการบวมร่วมกับการกินยาแก้ปวดลดไข้จะทำให้เด็กสบายขึ้น ”

อาการข้างเคียงรุนแรง..เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง

                อาการแพ้วัคซีนหรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนสามารถพบได้ในวัคซีนทุกชนิด หากเป็นแค่เพียงผื่นเล็กน้อยก็ไม่มีอะไรน่ากังวลนัก แต่หากลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นผื่นลมพิษ มีอาการหน้าบวมปากบวม หายใจลำบาก หรือความดันโลหิตต่ำลง ถือเป็นอาการข้างเคียงสำคัญ ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจพิจารณางดการฉีดวัคซีนชนิดนั้นในครั้งต่อไป และควรบันทึกไว้ในหลักฐานทางการแพทย์และสมุดวัคซีนให้ชัดเจน

                เนื่องจากอาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงมักเกิดขึ้นไม่นานหลังการฉีด จึงควรแนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการผิดปกติหรือฉีดวัคซีนทุกชนิดประมาณ 15-30 นาที ขณะยังอยู่ในโรงพยาบาล

                วัคซีนบางชนิดอาจมีอาการข้างเคียงรุนแรง แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยมากจนทำให้แพทย์ละเลยที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ในเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งอาจมองว่าโอกาสในการพบมีน้อย หรืออีกส่วนหนึ่งอาจเกรงว่าหากพูดถึงอาการข้างเคียงที่รุนแรงเหล่านี้ จะทำให้พ่อแม่บางคนกังวลใจ จนกระทั่งปฏิเสธที่จะให้ลูกรับวัคซีนดังกล่าว

 

                ตัวอย่างวัคซีนที่มีอาการข้างเคียงรุนแรง  เช่น วัคซีนโปลิโอชนิดหยอดกับอาการอัมพาต วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับกลุ่มอาการอ่อนแรงของแขนขาซึ่งอาจตามมาด้วยความพิการ วัคซีนโรต้ารุ่นเก่ากับโรคลำไส้กลืนกัน และในอดีตยังมีวัคซีนบางชนิดซึ่งเคยเชื่อกันว่าทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่ปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันว่าความสัมพันธ์หรือการเกี่ยวข้องกันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่าวัคซีนหัดกับการเกิดโรคออติซึม

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการรับวัคซีน

                ข้อห้ามหรือข้อควรระวังโดยทั่วไปเมื่อต้องเข้ารับวัคซีน ได้แก่ กรณีเด็กป่วยหนัก ควรเลื่อนการรับวัคซีนออกไป หรือหากเด็กเพิ่งเข้ารับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือด ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (วัคซีนซึ่งทำจากเชื้อมีชีวิตที่ทำให้กำลังอ่อนลง) ออกไปอีกระยะหนึ่ง หรือเด็กที่มีอาการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง (ลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ) ควรทำการบันทึกไว้ในบัตรตรวจโรคและสมุดวัคซีน และห้ามใช้วัคซีนนั้นๆ ในครั้งต่อไป

                นอกจากนั้น ยังควรระวังเมื่อต้องใช้วัคซีนบางชนิดกับเด็กที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น เด็กที่มีโรคทางสมองบางอย่าง ควรหลีกเลี่ยงวัคซีนไอกรน หรือเด็กที่ได้รับวัคซีนไอกรนแล้วมีอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง เช่น ร้องกวนอย่างมาก ไข้สูงมาก ชัก ควรงดการฉีดวัคซีนไอกรนหรือเปลี่ยนเป็นชนิดไม่มีเซลล์ หรืออาจจะต้องให้ยาลดไข้ไว้ล่วงหน้า และยังมีข้อห้ามบางอย่างซึ่งได้ยกเลิกไปแล้ว เช่น เด็กที่แพ้ไข่ ห้ามให้วัคซีนหัด

ทำอย่างไร…เมื่อมารับวัคซีนไม่ได้ตามนัด

                กรณีไม่ได้มารับการฉีดวัคซีนตรงตามเวลานัด สามารถให้วัคซีนต่อจากการฉีดครั้งก่อนได้ ไม่ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาทิ้งห่างจากการฉีดครั้งก่อนและไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ โดยไม่ต้องกังวลว่าภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเพียงพอหรือไม่

                “ วัคซีนเข็มที่ 2 นี้ควรจะฉีดให้ลูกคุณแม่ตั้งแต่เดือนที่แล้วแต่เดือนที่แล้วแต่ไม่เป็นไร แม้ว่าจะฉีดช้าไปหน่อย แต่สามารถฉีดวัคซีนเข็มต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ หลังฉีดวัคซีนครั้งนี้แล้ว ภูมิคุ้มกันของน้องจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว…ขอรับรองว่าเพียงพอในการป้องกันโรคได้ ”

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.