ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สาระสุขภาพ
dot
bulletคำถามที่พบบ่อย
bulletโรคริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
bulletการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
bulletก้อนที่เต้านม
bulletโรคกระเพาะ
bulletโรคลำไส้แปรปรวน ( IBS )
bulletโรคกรดไหลย้อน
bulletโรคอ้วน
bulletสมรรถภาพเพศชาย ( ED )
bulletทำหมันชาย
bulletโรคไส้เลื่อน
bulletโรคไส้ติ่ง
bulletเลิกบุหรี่
bulletเส้นเลือดขอด
bulletโรคฝีคันฑสูตร
bulletโรคไซนัส
bulletวัคซีน..เรื่องน่ารู้
bulletวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
bulletซีสต์
bulletมะเร็งปากมดลูก
bulletโรคภูมิแพ้
dot
สุขภาพและความปลอดภัย
dot
bulletชิคุนกุนยา "ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย"
bulletการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
bulletเตือนวัยรุ่นจัดฟันแฟชั่น-ลูกปัดเคลือบปรอท
bulletอาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง !
dot
Good food.....Good health
dot
bulletอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
bullet9 วิธีกินดี เพื่อสุขภาพ
dot
รวมลิงค์
dot
bulletwww.blackle.com/
bulletwww.google.co.th
bulletwww.hotmail.com
bulletwww.yahoo.com
bulletwww.ruamphat-ts.com




โรคกระเพาะ

                                 

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดจุกเสียด แน่นท้อง แสบท้อง นานไม่เกิน 2 สัปดาห์ และไม่มีอาการเตือนที่สำคัญ คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ จะรักษาด้วยยา ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และการวินิจฉัยของแพทย์ ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น

1.ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

2.ยายับยั้งการหลั่งกรด

3.ยาเพิ่มความต้านทานของชั้นเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร

4.ยาอื่นๆ ได้แก่ ยาเพิ่มการขับเคลื่อนในกระเพาะอาหาร ยาลดลมในกระเพาะอาหาร และยาปฏิชีวนะ

ยาลดกรดมักใช้เป็นลำดับแรกในการรักษาโรคแผลในกระเพาะและลำไส้ ได้แก่ โซดามินท์ หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต เกลือของอลูมิเนียม เช่น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ เกลือของแมกนีเซียม เช่น แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือเป็นตัวยาผสมระหว่างเกลืออลูมิเนียมและแมกนีเซียม นอกจากนี้ ยาลดกรดหลายตำรับมีการใส่ตัวยาซึ่งมีฤทธิ์ไล่ก๊าซ แต่ไม่มีฤทธิ์ลดกรด และไม่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากเป็นยาลดกรดที่มีเกลือของอลูมิเนียมผสมอยู่มาก อาจทำให้ท้องผูก หากมีเกลือของแมกนีเซียมผสมอยู่มากอาจทำให้ท้องเดิน ดังนั้นยาลดกรดในกลุ่มนี้จึงนิยมใช้สูตรผสมเกลือของอลูมิเนียมและแมกนีเซียมเพื่อลดผลเสียของกันและกัน

ข้อควรระวังในการใช้ยาลดกรด

- การใช้ยาในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคตับ ไต หัวใจ ความดันโลหิตสูง ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

- ยาลดกรดสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาอื่น หรือทำให้ยาอื่นมีประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ดังนั้นต้องบอกแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งหากใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย

- ควรรับประทานยาติดต่อกันตามแพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น

- หากมีอาการของภาวะแทรกซ้อน ต้องรีบไปพบแพทย์

หากใช้ยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการใช้กล้องส่องตรวจทางเดินอาหาร ได้ผลชัดเจนแน่นอนกว่าการตรวจโดยวิธีเอ็กซเรย์กลืนแป้ง เนื่องจากสามารถมองเห็นพยาธิสภาพของพื้นผิวทางเดินอาหาร

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

ก่อนการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อกันการสำลัก ถ้ามีฟันปลอมถอดได้ ให้ถอดออก ขั้นตอนต่อมาคือทำให้คอผู้ป่วยชา โดยให้กลืนยาชาและพ่นยาชาที่คอ ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาชา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เมื่อคอผู้ป่วยชาแล้ว สังเกตได้ว่าจะรู้สึกกลืนไม่ลง แพทย์จะใส่กล้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวนิ่มๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8.6 มิลลิเมตร เข้าทางปาก ลงคอไปตามหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

เนื่องจากการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารใช้เวลาสั้นๆ ประมาณ 5-10 นาที จึงมักทำในขณะผู้ป่วยรู้สึกตัว แต่ถ้าผู้ป่วยรู้สึกกลัวหรือเป็นผู้สูงอายุ ก็จะส่องกล้องตรวจในขณะผู้ป่วยหลับ โดยการฉีดยานอนหลับ ภาพการส่องกล้องจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งสามารถบันทึกภาพเก็บไว้ได้ ถ้าพบความผิดปกติระหว่างการส่องกล้องตรวจ แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจละเอียดต่อไป

เมื่อสิ้นสุดการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะยังรู้สึกชาที่คอ และกลืนลำบากอีกประมาณ 30 นาที เพราะฤทธิ์ยาชา ถ้ายังชาที่คอ อย่าเพิ่งไอ ขาก หรือกลืนน้ำลาย เพราะอาจจะสำลักได้ ถ้ามีน้ำลาย ให้บ้วนทิ้ง เมื่อคอหายชา จึงเริ่มดื่มน้ำและรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อจะได้ไม่เจ็บคอ

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

1.เพื่อดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ว่ามีลักษณะผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผล อักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตก

2.ถ้าพบลักษณะแผล เนื้องอก มะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจพิสูจน์ต่อไป ว่าเป็นแผลธรรมดาเป็นมะเร็ง หรือมีเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารหรือไม่

3.ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อน กระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ hemoclip ซึ่งมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บกระดาษ ช่วยหยุดเลือด

4.หากมีการตีบตัน เช่นเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบเนื่องจากกรดหรือด่าง ก็จะใช้กล้องส่องกระเพาะช่วยขยายได้บางส่วน

5.ในกรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้ โดยรัดผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร

6.ใช้คีบสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงไปในช่องทางเดินอาหาร เช่น ก้าง กระดูก สตางค์ เป็นต้น

7.เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่

 

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์ข้อมูลและรักษา
โรคกระเพาะ

คลินิกศัลยกรรมหมอสุรเชษฐ

ใส่ใจในสุขภาพคุณ
 130/1-4 .พระราม 6 .ทับเที่ยง

      อ.เมือง จ.ตรัง 92000

 

โทร. 075-219805,
         086-4715607

ww.surachetclinic.com

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.