คำว่าไส้เลื่อนหมายถึงภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่นบริเวณขาหนีบ หรืออาจจะเลื่อนมาในตำแหน่งรอยผ่าตัด
ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุมโดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้นเพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืดไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal hernia และ direct inguinal hernia
-Indirect inguinal hernia
ขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด
-Direct inguinal hernia
ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน
ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูงเช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน
อาการ
อาการที่สำคัญสำหรับไส้เลื่อนทั้งสองชนิดได้แก่ การที่มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ ก้อนนี้จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะได้ความรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรูก้อนจะหายไป
โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่สำคัญ
1. Incarcerated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
2. Strangulated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้เน่าตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆจะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ
3. Bowel obstruction เกิดเมื่ออุจจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม
สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์
· ปวดบริเวณไส้เลื่อน
· ก้อนนั้นไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
· ปวดท้องและอาเจียนท้องอืด
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำได้ง่ายโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
การรักษา
การรักษาไส้เลื่อนทั้งสองชนิดทำได้โดยการผ่าตัด นำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องและเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา การผ่าตัดมักจะได้ผลดี
· การผ่าตัดที่เรียกว่า Herniorrhaphy ผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อนเมื่อนำไส้กลับเข้าในช่องท้องแล้วก็เย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อน
· การผ่าตัดที่เรียกว่า Hernioplasty วิธีนี้จะใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ข้อมูลและรักษา
ไส้เลื่อน
คลินิกศัลยกรรมหมอสุรเชษฐ
“ใส่ใจในสุขภาพคุณ”
130/1-4 ถ.พระราม 6 ต.ทับเที่ยง
อ.เมือง จ.ตรัง 92000
โทร. 075-219805 , 086-4715607
www.surachetclinic.com