ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สาระสุขภาพ
dot
bulletคำถามที่พบบ่อย
bulletโรคริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
bulletการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
bulletก้อนที่เต้านม
bulletโรคกระเพาะ
bulletโรคลำไส้แปรปรวน ( IBS )
bulletโรคกรดไหลย้อน
bulletโรคอ้วน
bulletสมรรถภาพเพศชาย ( ED )
bulletทำหมันชาย
bulletโรคไส้เลื่อน
bulletโรคไส้ติ่ง
bulletเลิกบุหรี่
bulletเส้นเลือดขอด
bulletโรคฝีคันฑสูตร
bulletโรคไซนัส
bulletวัคซีน..เรื่องน่ารู้
bulletวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
bulletซีสต์
bulletมะเร็งปากมดลูก
bulletโรคภูมิแพ้
dot
สุขภาพและความปลอดภัย
dot
bulletชิคุนกุนยา "ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย"
bulletการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
bulletเตือนวัยรุ่นจัดฟันแฟชั่น-ลูกปัดเคลือบปรอท
bulletอาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง !
dot
Good food.....Good health
dot
bulletอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
bullet9 วิธีกินดี เพื่อสุขภาพ
dot
รวมลิงค์
dot
bulletwww.blackle.com/
bulletwww.google.co.th
bulletwww.hotmail.com
bulletwww.yahoo.com
bulletwww.ruamphat-ts.com




การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน

 

การเตรียมตัวเพื่อการส่องกล้อง

ตรวจทางเดินอาหารส่วนบน

( Gastroduodenoscopy )

 

           

การส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารส่วนบนหมายถึงการตรวจโดยใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อยาวโค้งงอได้ส่องตรวจตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้ส่วนต้นและสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติส่งตรวจทางพยาธิวิทยา โดยไม่ต้องผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้อง
      1.
งดอาหารและน้ำทุกชนิด
          - 
กรณีส่องช่วงเช้าต้องงดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดหลังเที่ยงคืน ( ยกเว้นน้ำได้ไม่เกินครึ่งแก้ว )
          - 
กรณีส่องช่วงเย็นต้องงดอาหารและน้ำดื่มทุกชนิดหลัง 10 โมงเช้า ( ยกเว้นน้ำเปล่าได้ไม่เกินครึ่งแก้ว )
     2.
ต้องถอดฟันปลอมออกก่อนทำการส่องกล้อง ( ถ้ามี )

การปฏิบัติตัวขณะส่องกล้อง
     
ผู้ป่วยต้องนอนตะแคงซ้าย แพทย์จะสอดกล้องผ่านปากขณะที่กล้องผ่านคอ และโดยผู้ป่วยช่วยกลืน เมื่อกล้องผ่านบริเวณคอลงไปในหลอดอาหารแล้ว ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ช้าๆ หากมีน้ำลายในปากจำนวนมากให้ผู้ป่วยปล่อยไหลมาบนผ้ายางที่รองไว้

การปฏิบัติตัวหลังส่องกล้อง
     
งดน้ำ และอาหาร หลังตรวจประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้เริ่มจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักให้รับประทานอาหารได้

อาการผิดปกติหลังส่องกล้องที่ควรมาพบแพทย์
     - มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบ
     -
มีอาการกลืนเจ็บแน่นหน้าอก ขณะกลืนอาหาร
     -
มีอาการปวดท้องมาก
     -
มีอาเจียนเป็นเลือด
     -
มีไข้สูงหลังส่องกล้องตรวจ

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

 

     1.เพื่อดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ว่ามีลักษณะผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผล อักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตก
      2.
ถ้าพบลักษณะแผล เนื้องอก มะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจพิสูจน์ต่อไป ว่าเป็นแผลธรรมดาเป็นมะเร็ง หรือมีเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารหรือไม่
      3.
ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อน กระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ hemoclip ซึ่งมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บกระดาษ ช่วยหยุดเลือด
     4.
หากมีการตีบตัน เช่นเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบเนื่องจากกรดหรือด่าง ก็จะใช้กล้องส่องกระเพาะช่วยขยายได้บางส่วน
     5.
ในกรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้ โดยรัดผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร
     6.
ใช้คีบสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงไปในช่องทางเดินอาหาร เช่น ก้าง กระดูก สตางค์ เป็นต้น
     7.
เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่ 

 


 

ขั้นตอนการรับบริการ
     1.
นำบัตรนัด ยื่นที่เคาน์เตอร์ ในวันที่นัดตรวจส่องกล้อง
     2.
รอเรียกชื่อ เพื่อเข้าพบหมอ  และเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

คลินิกศัลยกรรมหมอสุรเชษฐ

130/1-4 .พระราม 6 .ทับเที่ยง
         อ
.เมือง จ.ตรัง 92000

โทร. 075-219805 , 086-4715607

www.surachetclinic.com

 



 



 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.