สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
1. รับประทานอาหารเกินพอดี และขาดการออกกำลังกาย
2. คนสูงอายุ จะอ้วนง่าย ถ้าไม่ควบคุมอาหาร
3. สตรีวัยหมดประจำเดือน มีโอกาสอ้วนได้ง่าย
4. ภาวะเครียด อาจทำให้รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น
5. การทำงานของต่อมไร้ท่อบกพร่อง
อันตรายของโรคอ้วน
โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลกในศตวรรษใหม่นี้และจะเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับหนึ่ง
โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดควบคู่กับโรคอ้วน ได้แก่
1. โรคหัวใจ
2. โรคความดันโลหิตสูง
3. โรคข้อกระดูกเสื่อม
4. โรคเบาหวาน
5. โรคนิ่วในถุงน้ำดี
6. โรคมะเร็งของทรวงอก, ต่อมลูกหมาก, มดลูก, ลำไส้ใหญ่
7. สุขภาพจิตเสื่อม บุคลิกเสียไป
8. ปัญหาทางเพศสัมพันธ์
กลยุทธ์หลักในการลดความอ้วน ได้แก่
1. ความตั้งใจจริง
2. โภชนาการที่ถูกต้อง
3. ปรับพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสม เช่น กินเร็ว กินจุกจิก กินอาหารระหว่างดูโทรทัศน์ กินนาน
4. ออกกำลังกายที่เหมาะสม
5. การผ่าตัด
6. การใช้สมุนไพร
7. การใช้ยา
การใช้ยาลดความอ้วน
- ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เท่านั้น
- ยาลดความอ้วน มีฤทธิ์ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารน้อยลง และเพิ่มการเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน อาจเกิด
อาการข้างเคียงของยา เช่น ใจสั่น คอแห้ง กระหายน้ำ นอนไม่หลับ ท้องผูกได้ อาการเหล่านี้ถ้าพบไม่มาก และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็ถือว่าปกติ
- มีการนำสมุนไพร มาใช้ร่วมในการการลดความอ้วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาลดความอ้วน และลดอาการข้างเคียงข้างต้นลง
ข้อควรปฏิบัติ
1. ต้องตั้งใจจริง
2. รับประทานอาหารตามคำแนะนำของแพทย์
3. รับประทานอาหารเฉพาะในมื้ออาหาร เลิกทานของจุกจิก
4. หลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง อย่าวางอาหารที่ชอบไว้ใกล้ๆตัว
5. ออกกำลังกายในขนาดที่เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอ
6. ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ เมื่อลดน้ำหนักได้แล้ว เพื่อปรับขนาดของยาลง
7. ปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคอาหาร เพื่อให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มอีกหลังหยุดยา
“ โปรดจำไว้ว่าการลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าปฏิบัติตาม
คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคอ้วน ”
อันตรายที่เกิดจากการลดความอ้วนที่ผิดวิธี
การลดความอ้วนที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จะทำให้เกิดการลดเนื้อเยื่อสำคัญอื่นด้วย ได้แก่ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อของอวัยวะภายใน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นความพยายามลดพลังงานจากอาหารลงมากๆ เช่น งดอาหารบางมื้อหรือลดปริมาณอาหารที่เคยรับประทานลงอย่างมาก
จะทำให้ resting metabolism ลดลง คือพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญลดลงตาม ในสภาวะนี้ถ้าทำการลดอาหารลง น้ำหนักตัวจะลดลงอีกไม่มากนักหรือไม่ลดเลย ซึ่งทำให้หมดความอดทนในการควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักควรให้ผลลดได้คงทนระยะยาว จึงถือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index(BMI)
คือ ค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาไขมันในร่างกายเป็นค่าที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คำนวณง่าย สามารถใช้ได้กับทุกเพศทุก
วัย และทุกเชื้อชาติ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าท่านควรลดน้ำหนักลงมากน้อยเพียงใด
ดัชนีมวลกาย (BMI)= น้ำหนัก (ก.ก.)
ความสูง2 (ม.2)
ตารางแสดงการจำแนกของ BMI ตามเกณฑ์ของ
Nation Heart, Lung and Boold Institute 1998
ประเภท
|
ดัชนีมวลกาย
|
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
|
ต่ำกว่าเกณฑ์
น.น.ตัวปกติ
น.น.ตัวเกิน
โรคอ้วนขั้นที่1
โรคอ้วนขั้นที่2
โรคอ้วนขั้นที่3
|
< 18.5
18.25 – 24.9
25 – 29.9
30 – 34.9
35 – 39.9
40 ขึ้นไป
|
ต่ำ
ปกติ
เพิ่มกว่าปกติ
เพิ่มขึ้นปานกลาง
เพิ่มขึ้นอย่างมาก
เพิ่มขึ้นขั้นรุนแรง
|
“ โปรดจำไว้ว่าการลดน้ำหนัก
เป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้าปฏิบัติตาม
คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคอ้วน ”