ReadyPlanet.com
dot dot
dot
สาระสุขภาพ
dot
bulletคำถามที่พบบ่อย
bulletโรคริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)
bulletการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน
bulletก้อนที่เต้านม
bulletโรคกระเพาะ
bulletโรคลำไส้แปรปรวน ( IBS )
bulletโรคกรดไหลย้อน
bulletโรคอ้วน
bulletสมรรถภาพเพศชาย ( ED )
bulletทำหมันชาย
bulletโรคไส้เลื่อน
bulletโรคไส้ติ่ง
bulletเลิกบุหรี่
bulletเส้นเลือดขอด
bulletโรคฝีคันฑสูตร
bulletโรคไซนัส
bulletวัคซีน..เรื่องน่ารู้
bulletวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
bulletซีสต์
bulletมะเร็งปากมดลูก
bulletโรคภูมิแพ้
dot
สุขภาพและความปลอดภัย
dot
bulletชิคุนกุนยา "ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย"
bulletการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
bulletเตือนวัยรุ่นจัดฟันแฟชั่น-ลูกปัดเคลือบปรอท
bulletอาหารใช้น้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง !
dot
Good food.....Good health
dot
bulletอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละวัย
bullet9 วิธีกินดี เพื่อสุขภาพ
dot
รวมลิงค์
dot
bulletwww.blackle.com/
bulletwww.google.co.th
bulletwww.hotmail.com
bulletwww.yahoo.com
bulletwww.ruamphat-ts.com




การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน

                  

 การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน

     ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรคระบบทางเดินอาหารส่วนบน ตั้งแต่หลอดอา หาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น สามารถทำการวินิจฉัยได้รวดเร็ว และแม่นยำถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะได้มีการนำเอากล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารมาใช้กันอย่างแพร่หลาย กล้องชนิดนี้ได้มีการพัฒนาจนในปัจจุบันสามารถจะเห็นภาพผนังหลอดอาหาร เห็นภาพความผิดปกติภาพในกระเพาะอาหาร และลำไล้เล็กได้อย่างชัดเจนทางจอโทรทัศน์ซึ่งเราเรียกว่า "วิดีโอสโคป" ซึ่งสามารถบันทึกภาพเก็บไว้ หรือสามารถถ่ายภาพออกมาไว้ดูได้

 

ข้อบ่งชี้และข้อพิจารณาในการทำหรือไม่ทำหัตถการนี้
   - ผู้ป่วยที่มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน

    - 
อาการปวดท้องส่วนบนที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้วยังไม่หาย
   - อาการปวดท้องส่วนบนที่สัมพันธ์กับอาการ หรืออาการแสดงอื่นๆ ที่น่าสงสัยว่าจะมีโรคที่ร้ายแรง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือพบอาการในผู้ป่วยที่อายุ 45 ปีขึ้นไป
   - อาการกลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
   - อาการของ โรคกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ (GERD: Gastroesophageal Reflux Diesease) ที่ไม่หาย หรือเกิดใหม่ ถึงแม้ว่าได้รับการรักษาที่เหมาะสม
   - อาการอาเจียนที่ติดต่อในเวลานานพอควรที่ไม่ทราบสาเหตุ
  

   - ผู้ป่วยมีโรคหลักอื่น และมีประวัติของพยาธิสภาพของทางเดินอาหารส่วนบน ที่การวางแผนการรักษาโรคอาจมีผลต่อพยาธิสภาพของทางเดินอาหารส่วนบน
   - ต้องการวินิจฉัยที่แน่นอนในผู้ป่วยที่มีภาพถ่ายรังสีผิดปกติ เช่น พบแผล หรือเนื้องอกในกระเพาะอาหาร
   - ต้องการการตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ หรือเก็บของเหลว น้ำย่อยตรวจ
   - เพื่อประเมินการบาดเจ็บของทางเดินอาหารในผู้ป่วยที่กินสารกัดกร่อน (caustic ingestion)
   - เพื่อต้องการใส่สายให้อาหารชนิดต่างๆ เช่น PEG PEJ
   - เพื่อรักษาการตีบแคบของทางเดินอาหารโดยการขยาย หรือใส่ท่อ หรือการฉีดยา

 


  

อาการที่ควรตรวจวินิจฉัยด้วย Gastroscope
  
ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงซ้าย เหนือสะดือ เสียดท้อง แสบท้องนานเกิน 2 สัปดาห์หรือเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ อาหารไม่ย่อย กลืนลำบาก กลืนอาหารเจ็บ น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย ซีด มีภาวะโลหิตจาง อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ

 

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

   1. เพื่อดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ว่ามีลักษณะผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผล อักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตก

   2. ถ้าพบลักษณะแผล เนื้องอก มะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจพิสูจน์ต่อไป ว่าเป็นแผลธรรมดาเป็นมะเร็ง หรือมีเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารหรือไม่

   3. ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อน กระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ hemoclip ซึ่งมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บกระดาษ ช่วยหยุดเลือด

   4. หากมีการตีบตัน เช่นเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบเนื่องจากกรดหรือด่าง ก็จะใช้กล้องส่องกระเพาะช่วยขยายได้บางส่วน

   5. ในกรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง มีอาการอาเจียนเป็นเลือด สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้ โดยรัดผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร

   6. ใช้คีบสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงไปในช่องทางเดินอาหาร เช่น ก้าง กระดูก สตางค์ เป็นต้น

   7. เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้อง
   
1. งดอาหาร และน้ำดื่มทุกชนิดก่อนทำการส่องกล้องประมาณ8 ชั่วโมง (ยกเว้นน้ำเปล่าได้ไม่เกินครึ่งแก้ว)
   2. ต้องถอดฟันปลอมออกก่อนทำการส่องกล้อง( ถ้ามี )

ผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

    1. เลือดออกหรือทะลุ พบได้น้อยกว่า 1 ใน 1,000 รายมักพบในรายที่จี้ตัดเนื้องอก หรือตัดชิ้นเนื้อหลาย ๆ แห่ง

    2. การสำลัก เกิดปอดอักเสบได้ แต่พบได้น้อย

    3. การติดเชื้อ พบได้น้อยเช่นกัน

    4. อาจมีอาการเจ็บระคายคอ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยได้

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อได้ที่

คลินิกศัลยกรรมหมอสุรเชษฐ

136/8 .วิเศษกุล

. ทับเที่ยง อ. เมือง

. ตรัง 92000

โทร. 075-200024

       075-219805

ใส่ใจในสุขภาพคุณ”

                  




การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน




Copyright © 2010 All Rights Reserved.